โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคฮิตของเพศหญิง

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
พบมากกว่าร้อยละ 70 ของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบบ่อยในเพศหญิงในช่วงวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์ สาเหตุ ที่โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่เกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร้อยละ 70 จะกลับเป็นซ้ำอีกภายใน 6 เดือน ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ตั้งแต่ วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนานๆ ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อย ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมลูกหมากโตหรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังอาจพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือพบภายหลังการสวนปัสสาวะ ส่วนใหญ่โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากการกลั้นปัสสาวะมากไป รับประทานน้ำไม่พอเพียง การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เป็น ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่สำคัญที่สุด ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่าเป็นบ่อยๆ เนื่องจากมีความผิดปกติทางกายวิภาคของของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ หรืออาจพบว่าเป็นโรคนิ่วร่วมด้วยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ พบ ว่ามีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยภายหลังจากการมีเพศสัมพันธ์โดย เฉพาะในช่วงระยะหลังการแต่งงานใหม่ๆ อาจเกิดการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ เชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย เกิดการอักเสบติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะขึ้น เรียกภาวะดังกล่าวว่า Honeymoon Cystitisอาการปัสสาวะบ่อย แสบ ขัด ครั้งละไม่มาก รู้สึกถ่ายไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เจ็บมากตอนปลายของปัสสาวะ บางรายมีเลือดออกมาด้วย ผู้ ป่วยอาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส แต่บางคนอาจขุ่นหรือมีเลือดปน อาการอาจเกิดขึ้นหลังกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือหลังมีเพศสัมพันธุ์ ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน อาจมีไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียน การตรวจร่างกายมักจะตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน บางคนอาจพบการกดเจ็บเล็กน้อยตรงบริเวณกลางท้องน้อย การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถให้การวินิจฉัยได้จากอาการทางปัสสาวะดังกล่าวข้างต้น ร่วมกับการตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาวและแบคทีเรีย

  1. เม็ดเลือดขาวที่ตรวจพบในปัสสาวะมากกว่า 5-10 ตัว เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้กำลังขยายสูง โดยเป็นการตรวจปัสสาวะสดและไม่ปั่น
  2. แบคทีเรียที่ตรวจพบในปัสสาวะมากกว่า 1 ตัว เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้กำลังขยายสูง เมื่อตรวจปัสสาวะสดและไม่ปั่น หรือพบแบคทีเรียตั้งแต่ 1ตัวจากการย้อมสีแกรมการเพาะเชื้อปัสสาวะมี ความจำเป็นในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีอาการเกิน 7 วัน ผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็นหลายๆ ครั้ง และผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังอื่น เช่น เบาหวาน โรคตับ โรคไตการตรวจปัสสาวะด้วยแถบตรวจ วิธี นี้เป็นการตรวจปัสสาวะที่สะดวกและรวดเร็ว กระทำได้ทั่วไป สามารถตรวจได้หลายอย่าง
  3. ถ้าตรวจเม็ดเลือดขาว พบว่าความไวของแถบตรวจสูงกว่าร้อยละ 80 และความจำเพาะสูงกว่าร้อยละ 95 แต่ถ้าตรวจเชื้อแบคทีเรีย พบว่าความไวของแถบตรวจไม่ดีเท่าที่ควร บางรายแพทย์อาจพิจารณาตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจภาพรังสีเอกซเรย์ หรือการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ การรักษา
  4. พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ควรเลือกยาที่มีความไวสูงตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลความไวของเชื้อต่อยาในชุมชนของผู้ป่วย
  5. เชื้อก่อเหตุในผู้ป่วยไทยมีอัตราการดื้อยา amoxicillin และ co-trimoxazole สูง ดังนั้นยาตัวแรกที่เลือกใช้ควรเป็น norfloxacin
  6. สำหรับสตรีตั้งครรภ์และเด็ก เลือกใช้เป็นเศฟาโลสปอรินส์รุ่นที่ 3 ชนิดกิน เช่น cefdinir, cefixime, ceftibuten

ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย หรือ มีประวัติได้รับยาปฏิชีวนะมาภายในหนึ่งเดือน ควรพิจารณาใช้ยาในกลุ่มควิโนโลนรุ่นที่ 2 ได้แก่ ofloxacin, lomefloxacin, ciprofloxacinการป้องกัน

  1. พยายามดื่มน้ำมากๆ และอย่ากลั้นปัสสาวะ ควร ฝึกการถ่ายปัสสาวะนอกบ้าน หรือระหว่างเดินทางได้ทุกที่ การกลั้นปัสสาวะทำให้เชื้อโรคอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นานจนสามารถเจริญเติบ โตทำให้เกิดการอักเสบได้
  2. หลังถ่ายอุจจาระควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลังเพื่อป้องกันไม่ให้นำเชื้อโรคเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
  3. สำหรับอาการขัดเบาหลังร่วมเพศ (Honeymoon’ s cystitis) อาจป้องกันได้โดยดื่มน้ำ 1 แก้ว ก่อนร่วมเพศควรใส่ครีมหล่อลื่นช่องคลอดก่อนถ้าจำเป็น และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ บางครั้งอาจต้องรับประทานยาถ้ามีการติดเชื้อ
  4. ระหว่างที่มีตกขาว ควรทำความสะอาดบ่อยขึ้น อย่าให้หมักหมมถ้าจำเป็นอาจต้องพบแพทย์นรีเวช
  5. หลีกเลี่ยงอาการท้องผูกนานๆ ถ้าจำเป็นอาจต้องกินยา

กินดึกไม่อ้วน ถ้าเลือกกิน

บทความสุขภาพ
กินดึกไม่ดีใครๆ ก็รู้ แต่ถ้าความหิวไม่ปราณี แสบท้องจนนอนไม่ได้ จะทำยังไงดีล่ะ?! อะไรกินได้และอะไรกินไม่ได้ Continue reading “กินดึกไม่อ้วน ถ้าเลือกกิน”

เวียนศีรษะจนบ้านหมุน สาเหตุของอาการเหล่านี้

อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) หรือ อาการบ้านหมุน เป็นความรู้สึกเวียนศีรษะ ซึ่งทำให้ผู้ที่มีอาการไม่สามารถทำงานหรือเรียนหนังสือได้ตามปกติ วันนี้เราขอแนะนำข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการ แก้อาการบ้านหมุน ที่จะช่วยให้คุณอาการดีขึ้น

ความหมายของอาการบ้านหมุน
อาการบ้านหมุนเป็นภาวะหนึ่งที่มีความรู้สึกว่า โลกโดยรอบตัวของเรากำลังหมุน ปัญหาเกี่ยวกับหูชั้นในเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบ้านหมุน

สาเหตุอาการบ้านหมุน
ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ปัญหาเกี่ยวกับหูชั้นในทำให้เกิดอาการบ้านหมุน ซึ่งปัญหาดังกล่าว ได้แก่

หินปูนในหูชั้นในเคลื่อน
เมื่ออาการหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign Paroxysmal Positional Vertigo: BPPV) เกิดขึ้น แคลเซียมจำนวนหนึ่งจะเกิดการสะสมตัว หรือมีอนุภาคหลุดเข้าไปอยู่ในช่องหูชั้นใน แล้วหูส่งสัญญาณที่ผิดไปยังสมอง ซึ่งทำให้เสียสมดุลของร่างกาย ไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดสำหรับ BPPV อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับอายุที่มากขึ้น

น้ำในหูไม่เท่ากัน
เป็นที่เชื่อกันว่าภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) เกิดขึ้นเมื่อของเหลวสะสมตัวในหู ซึ่งส่งผลต่อความดันปกติในหู

เส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ
การติดเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของปัญหาเส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ (Vestibular Neuritis) เมื่ออาการนี้เกิดขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบที่ส่งผลต่อเส้นประสาทของหูชั้นใน ซึ่งทำหน้าที่ในการคงความสมดุลของร่างกาย

 

แก้อาการบ้านหมุน วิธีนี้ช่วยคุณได้

ในบางครั้ง อาการบ้านหมุนจะหายไปเอง โดยไม่ต้องมีการรักษาเฉพาะใดๆ ในทางกลับกัน ในหลายกรณี อาการบ้านหมุนจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ

การฟื้นฟูเส้นประสาทการทรงตัว
ระบบประสาทการทรงตัวทำหน้าที่ส่งสัญญาณต่างๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายไปยังสมอง ส่งผลดีให้สมองทราบและปรับเพื่อทำให้ทรงตัวได้ การฟื้นฟูเส้นประสาทการทรงตัว (Vestibular rehabilitation) เป็นการบำบัดประเภทหนึ่งที่ช่วยให้ระบบประสาทการทรงตัวแข็งแรงมากขึ้น

การทำให้หินปูนในหูชั้นในกลับเข้าที่เดิม
การบำบัดด้วยการทำให้หินปูนในหูชั้นในกลับเข้าที่เดิม (Canalith repositioning maneuvers) วิธีนี้ใช้เพื่อจัดการภาวะ BPPV ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวศีรษะและร่างกาย เพื่อทำให้อนุภาคแคลเซียมออกจากช่องหูชั้นใน แล้วอนุภาคดังกล่าวมีการดูดซึมโดยร่างกาย การบำบัดด้วยวิธีนี้ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ผลที่ปลอดภัยที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

การใช้ยา
หากอาการบ้านหมุนเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะ (antibiotics) หรือสเตียรอยด์ (steroids) สารเหล่านี้สามารถจัดการอาการบวมและต้านการติดเชื้อ

หากมีอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน แพทย์อาจให้ยาขับปัสสาวะ (diuretics) แก่ผู้ป่วยเพื่อจัดการการสะสมตัวของของเหลว

การผ่าตัด
ในกรณีอื่นๆ บางประการ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการรู้สึกหมุน

เนื่องจากในบางครั้งอาการบ้านหมุนเกิดจากความผิดปกติประจำตัว เช่น เนื้องอกหรืออาการบาดเจ็บที่คอหรือสมอง ในกรณีนี้ การผ่าตัดเพื่อกำจัดสาเหตุดังกล่าวจึงจะสามารถช่วยผู้ป่วยได้เท่านั้น

อากาศร้อนๆ อย่ามองข้าม โรคลมแดด ร้ายแรงถึงชีวิต

โรคลมแดด คือโรคที่เกิดจากความร้อนชนิดหนึ่ง โดยโรคที่เกิดจากความร้อนนั้นมีหลายระดับ ซึ่งโรคลมแดดเป็นภาวะฉุกเฉินที่รุนแรงที่สุด ถ้าได้รับการรักษาไม่รวดเร็วเพียงพอ อาจส่งผลให้คนไข้ถึงแก่ชีวิตได้ โดยในหนึ่งปีมีคนไข้เสียชีวิตจากโรคนี้เฉลี่ยกว่า 800 ราย

โดยปกติแล้วร่างกายของเราจะมีการสร้างความร้อนอยู่ภายในแล้วก็ค่อยๆ สลายความร้อนออกไป คือถ้าอุณหภูมิข้างนอกสูงขึ้น หรือ อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้น ร่างกายเราจะขับความร้อนออกมาด้วยวิธีการดังนี้

  1. การแผ่ความร้อน คือการแผ่ออกไปในอากาศรอบๆ
  2. การนำความร้อน คือการที่มีวัตถุมาสัมผัส เช่นการเอาผ้าชุบน้ำมาโปะไว้ที่หน้าผาก
  3. การพาความร้อน เช่น การอาบน้ำ

แต่วิธีการที่ร่างกายเราใช้เป็นหลักคือการแผ่ความร้อน โดยเส้นทางที่จะทำให้ความร้อนออกจากร่างกายก็คือเหงื่อ ซึ่งปกตินั้นร่างกายของเราจะคงอุณหภูมิไว้ได้ที่ 36-37 องศา แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นก็จะมีกลไกไปบอกสมอง บริเวณ “ไฮโปทาลามัส” ที่จะทำให้เส้นเลือดขยายตัวโดยเฉพาะที่ผิวหนังและมีการสร้างเหงื่อเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยลดการสร้างความร้อนในร่างกาย จากนั้นร่างกายจะสั่งให้ปรับพฤติกรรมเพื่อให้รับมือกับความร้อนได้ เรียกว่า ขบวนการขับความร้อน แต่ถ้าอากาศชื้นมากกลไกนี้ก็จะเสียไป เพราะฉะนั้นหากอุณหภูมิสูงผนวกกับความชื้นสูง ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับโรคความร้อนโดยเฉพาะลมแดด

ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากความร้อน

  1. มีภาวะบวมจากความร้อน ในส่วนของเท้ากับข้อเท้า แต่ถ้าเราลดอุณหภูมิและหลีกเลี่ยงความร้อนได้ อาการเหล่านี้ก็จะยุบลง หรือบางทีจะหายไปเอง
  2. เป็นผื่นที่เกิดจากความร้อน หรือผื่นแดด มีลักษณะเป็นผื่นแดง คัน มีตุ่มแดงๆขึ้นตามร่างกาย ในลักษณะคล้ายการเป็นผด ซึ่งแก้ด้วยการใส่เสื้อผ้าที่บางเบาเพื่อคลายความร้อน
  3. ตะคริวแดด คือเมื่อความร้อนสูงขึ้นก็จะเกิดการเป็นตะคริว โดยเฉพาะบริเวณน่อง ซึ่งปกติจะเจอในกลุ่มคนที่ออกกำลังกาย แต่คนไข้ที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการสูญเสียเกลือแร่ ซึ่งแก้ด้วยการทานน้ำเกลือแร่ชดเชยในกรณีที่อาการไม่เยอะ แต่ถ้าอาการหนักขึ้น ควรพบแพทย์
  4. เพลียแดด จะเริ่มมีอาการเยอะขึ้น มีการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เวียนหัว ท้องเสีย อาจมีการหน้ามืด ใจสั่น ความดันโลหิตสูง แก้ได้โดยทานน้ำเกลือแร่
  5. ลมแดด เป็นภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายเกิน 40 องศา ร่วมกับอาการทางระบบประสาท โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก เช่น ซึม สับสน หรือบางทีอาจจะถึงขั้นชักและหมดสติได้เลย

นอกจากนี้ความร้อนยังส่งผลต่อร่างกายทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติ และเซลล์สามารถตายได้ อีกทั้งยังส่งผลให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติหรือล้มเหลวได้หลายระบบมาก เช่น ตับ ไต กล้ามเนื้อสลาย เกลือแร่ผิดปกติ เป็นผลให้เสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นหากเราพบผู้ที่เป็นลมแดดเราควรจะปฐมพยาบาลเบื้องต้นในทันทีโดย

  • นำคนไข้ออกมาที่เย็น ถอดเสื้อผ้าเพื่อระบายความร้อน
  • พ่นละอองน้ำ หรือพรมน้ำ เอาพัดลมมาเป่า ซึ่งช่วยในการระเหย
  • สามารถวางน้ำแข็ง ผ้าเย็น ไว้แค่บางจุด เช่นคอ หรือหน้าผาก